ชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท
เมื่อรู้สึกปวดและชามือ อย่าคิดว่าไม่สำคัญ...เพราะอาจมีพังผืดกดทับเส้นประสาท
การชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท เพราะเส้นเอ็นบริเวณช่องว่างของข้อมือมีการอักเสบและมีการหนาตัวของพังผืดจึงทำให้ช่องว่างที่มือมีขนาดเล็กลง เส้นประสาทถูกเบียดหรือกดทับจึงมีอาการปวด รู้สึกเสียวคล้ายไฟช็อต ชาที่ข้อมือ มือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หากมีอาการมากมืออาจอ่อนแรงทำให้หยิบสิ่งของได้ลำบาก
โรคนี้สาเหตุหนึ่งเกิดจากการใช้งานข้อมือและมือซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการกำมือแน่น ๆ กระดกข้อมือขึ้น-ลงบ่อย ๆ หรือขยับมือเป็นเวลานาน ซึ่งในปัจจุบันเราพบผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ได้มากกว่าในอดีต และยังเกิดกับกลุ่มคนที่หลากหลาย เช่น คนทำงานออฟฟิศ ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นประจำเป็นเวลานาน พนักงานขับรถ แม่บ้าน คนทำสวน ช่างทาสี นักกีฬาบางประเภท เช่น นักแบดมินตัน นักกอล์ฟ นักเทนนิส
ทางเลือกที่ใช่
การรักษาที่กายคตา สามารถรับการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด พร้อมกับการดูแล ฟื้นฟู และซ่อมแซมเซลล์ไปพร้อมกัน
กายภาพบำบัด
- การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) เพื่อช่วยกระตุ้นให้มีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ และช่วยลดอาการปวด
- การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation :PMS) สามารถช่วยในเรื่องอาการชา ทั้งยังช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
- การใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser) ซึ่งเลเซอร์สามารถลงลึกไปยังจุดที่ทำให้มีอาการชา และขณะเดียวกันยังมีส่วนช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมและฟื้นฟูเนื้อเยื่อ
- การฉีด (Prolotherapy) เป็นการกระตุ้นให้มีการอักเสบแบบอ่อน ๆ เมื่อมีการอักเสบ ร่างกายก็จะเกิดกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง
- การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) เป็นการรักษาเพื่อให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อเองตามธรรมชาติ ด้วยการใช้วิธีฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของผู้ป่วยที่ผ่านกระบวนการทางการแพทย์เพื่อกระตุ้นให้เกิด Growth Factor เมื่อได้แล้ว จึงฉีดเข้าไปในจุดที่ต้องการฟื้นฟู ซึ่งเลือดที่ใช้นั้นก็เป็นเลือดของผู้ป่วยเอง จึงมีความปลอดภัย
- การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) เพื่อช่วยดูแล บำรุงเซลล์ที่เสื่อมสภาพ โดยสารเปปไทด์ชีวภาพที่ฉีดนั้นเป็นสารธรรมชาติที่ช่วยทดแทนเปปไทด์ที่สึกหรอ จึงเป็นวิธีที่สามารถช่วยฟื้นฟูการทำงานของเซลล์
- การใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ โดยการฉีดเซลล์หรือองค์ประกอบเซลล์เข้าร่างกาย เพื่อแก้ไขเซลล์เสื่อมสภาพ และกระตุ้นการทำงานและการสร้างเซลล์ใหม่ พร้อมทั้งกระตุ้นให้เซลล์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้การดูแลในภาพรวมยังจะให้คำแนะนำด้านโภชนาการ และเสริมวิตามินตามความเหมาะสมควบคู่ไปกับวิธีรักษาอื่นอีกด้วยหลายคนอาจมีคำถามว่าเป็นแล้วต้องพบแพทย์เท่านั้นหรือ?
ในช่วงที่เริ่มมีอาการเพียงเล็กน้อย สามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้โดยวิธีการดังนี้
- หยุดพักงานใช้งานมือหรือลดการใช้ข้อมือ
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของเอ็น กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท
- ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อมือ
แต่หากปฏิบัติแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เทคนิคการออกกำลังกาย
วิธีการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของเอ็น กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท สามารถทำได้ทั้งผู้ที่มีอาการชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท และผู้ที่ยังไม่มีอาการ แต่เป็นผู้ที่ใช้ข้อมือและมือบ่อย ๆ เป็นเวลานาน ๆ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้ผ่อนคลาย และวิธีนี้สามารถทำได้หลายครั้งต่อวัน โดยสามารถปฏิบัติ ดังนี้
- ยกแขนให้ข้อมืออยู่ในแนวตั้งตรงตลอดเวลาในการออกกำลังกาย เพียงแต่เปลี่ยนท่าทางในการใช้ข้อมือตามลำดับ
- กำมือค้างไว้ประมาณ 5 วินาที .....ทำเช่นนี้ข้างละ 10 ครั้ง
- แบฝ่ามือให้นิ้วทั้ง 5 นิ้วชิดกัน ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำเช่นนี้ข้างละ 10 ครั้ง
- เหยียดข้อมือไปด้านหลัง โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ในแนวตรงในท่านิ้วชิดกันทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำเช่นนี้ข้างละ 10 ครั้ง
- แบมือและเหยียดข้อมือไปด้านหลัง โดยนิ้วหัวแม่มือไม่ต้องชิดกับนิ้วชี้ ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำเช่นนี้ข้างละ 10 ครั้ง
- เหยียดข้อมือไปด้านหลังและพยายามหงายฝ่ามือให้สุด ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำเช่นนี้ข้างละ 10 ครั้ง
- เหยียดข้อมือไปด้านหลังและพยายามหงายฝ่ามือให้สุด โดยนิ้วหัวแม่มือไม่ต้องชิดกับนิ้วชี้ และใช้มืออีกด้านดึงนิ้วหัวแม่มือให้เหยียดออก ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำเช่นนี้ข้างละ 10 ครั้ง
ชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท การใช้งานข้อมือและมือเป็นเวลานานเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่พบจากไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน ดังนั้น สิ่งที่สามารถลงมือทำเพื่อดูแลตนเองได้ตั้งแต่ตอนนี้ คือ ระหว่างการทำงานควรหยุดพัก เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ อาจจะทุก 30 นาที หรืออย่างน้อยทุก 40 นาที เพื่อให้ร่างกายได้มีการผ่อนคลาย