กระดูกสันหลังยุบจากปัญหากระดูกพรุน

กระดูกสันหลังยุบจากกระดูกพรุน แน่นอนว่าสาเหตุย่อมมีที่มาจากกระดูกสันหลังเปราะบางเพราะโรคกระดูกพรุน จึงเป็นที่มาให้กระดูกสันหลังยุบ แตก หัก

ภัยเงียบที่น่ากลัว

วัยสูงอายุ คือช่วงวัยที่สามารถพบปัญหากระดูกสันหลังยุบจากโรคกระดูกพรุนได้มาก และโรคนี้เรียกได้ว่ามักจะไม่มีสัญญาณนำดังเช่นหลาย ๆ โรค กล่าวได้ว่าเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่ง เพราะถ้าทางกายภาพเมื่อเห็นว่าหลังค่อมลง ตัวเตี้ยลง นั่นก็หมายความว่ากระดูกสันหลังได้ยุบ ทรุดตัวลงแล้ว

 

โรคกระดูกพรุน ส่งผลให้กระดูกแตกหักได้ง่าย และนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้เช่นเดียวกัน เช่น เพศ เนื่องจากเพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงเป็นกระดูกพรุนมากกว่าเพศชาย ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำในปริมาณมาก  ผู้ที่รูปร่างผอม ผู้ที่ทานยาลดกรดในกระเพาะ ผู้ที่ทานยาสเตียรอยด์

การจะรู้ผลที่แน่ชัดต้องตรวจอย่างละเอียด

เมื่อกระดูกสันหลังยุบแล้วผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการขยับร่างกาย อาจมีอาการชา และอ่อนแรงร่วมด้วยได้ในกรณีที่กระดูกสันหลังยุบและกดทับเส้นประสาท ด้านการรักษาแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมจากผลตรวจเพื่อดูพิกัดของจุดที่เกิดการยุบของกระดูกสันหลัง และสิ่งสำคัญคือก่อนการรักษาแพทย์จะทำความเข้าใจถึงเป้าหมายการรักษาด้วยวิธีการทำกายภาพบำบัดก่อนว่า กระดูกสันหลังยุบจากปัญหากระดูกพรุนนั้นการรักษาคือเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ประคับประคองเพื่อพยายามไม่ให้มีการยุบตัวมากขึ้น พร้อมฟื้นฟู และซ่อมแซมเซลล์ในจุดที่เกิดปัญหา แต่ไม่สามารถทำให้ส่วนที่ยุบยืดกลับมาได้ดังเดิม เพราะนั่นจะต้องรักษาโดยการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก ผ่าตัดใส่สกรูดามกระดูก

วิธีการทำกายภาพบำบัด

  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) เพื่อลดอาการปวด กระตุ้นให้เนื้อเยื่อจุดเจ็บเกิดการบาดเจ็บและซ่อมแซมตัวเอง
  • เครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยคลายกล้ามเนื้อ (Peripheral Magnetic Stimulation: PMS) ช่วยรักษาอาการปวดชา ร้าวลงขาที่เกิดจากเส้นประสาท กระตุ้นการทำงานและฟื้นฟูระบบประสาท กระตุ้นให้มีการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ
  • การใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser) ช่วยลดอาการปวด อักเสบ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมเส้นประสาท ช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูก
  • ให้คำแนะนำการใส่อุปกรณ์พยุง ให้คำแนะนำวิธีการเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่าง ๆ และการบริหารร่างกายที่เหมาะสม อย่างเช่น การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว การบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และข้อควรระวังต่าง ๆ

การรักษาเพิ่มเติมในระดับเซลล์ ได้แก่ การฉีด Prolotherapy การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) และการใช้เซลล์ซ่อมเซลล์

อย่างที่ทราบกันว่า กระดูกสันหลังยุบจากโรคกระดูกพรุนไม่มีสัญญาณเตือนของโรค จะทราบว่าเป็นก็ต่อเมื่อได้รับการตรวจจากแพทย์ ดังนั้นสิ่งที่สามารถช่วยในการดูแลตัวเองเพื่อช่วยลดความเสี่ยงกระดูกสันหลังยุบจากโรคกระดูกพรุนก็คือการเตรียมความพร้อมดูแลตนเอง โดยการ ตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก เพื่อวางแผนป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน หรือเพื่อดูแลระมัดระวังตนเองให้มากขึ้นหากมีภาวะกระดูกพรุน สิ่งใดที่ช่วยป้องกัน ดูแลสุขภาพได้ อย่าลังเลที่จะลงมือทำ

.........................

 

 

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
อายุมากขึ้น กระดูกสันหลังเสื่อม ระวังโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ปัญหาหลักจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ไม่ใช่เรื่องของคนสูงอายุ แต่เกิดเพราะอายุที่มากขึ้น
เส้นประสาทอักเสบ
เส้นประสาทอักเสบ เป็นภาวะของเส้นประสาทที่มีสาเหตุใดก็ตามซึ่งมากระทำกับเส้นประสาทจนส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้นมา....
ปวดหลังส่วนล่าง อาการกวนใจที่ใคร ๆ ก็เป็นได้
ปวดหลังส่วนล่าง อาการที่มักสร้างความรำคาญใจให้กับคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ ลักษณะอาการที่แต่ละคนเป็นอาจแตกต่างกันไป
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy