ใช้ข้อมืออย่างหนัก ระวัง! เอ็นข้อมืออักเสบ
หากมีอาการปวดข้อมือ นิ้วมือ โดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหว กำมือยิ่งปวด อาจมีอาการบวม แดง ชาอย่างรุนแรงที่หัวแม่มือและนิ้วชี้ อาการเหล่านี้ล้วนบ่งชี้ เอ็นข้อมืออักเสบ
เมื่อพบอาการและรบกวนการใช้ชีวิต นอกจากหยุดพักใช้ข้อมือแล้ว ควรพบแพทย์ทันที เพราะหากเริ่มต้นรักษาเร็วย่อมให้ผลการรักษาที่ดีและใช้เวลาน้อยกว่ากรณีที่มีอาการมากแล้ว ที่มากกว่านั้น หากไม่รีบรักษาอาจเชื่อมโยงกับอาการบาดเจ็บ การอักเสบส่วนอื่น ๆ ของข้อมือได้
โรคที่ใคร ๆ ก็เป็นได้
เอ็นข้อมืออักเสบ พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ที่ต้องใช้มือซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และใช้ข้อมือในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง แต่ส่วนใหญ่โรคนี้จะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นั่นก็เพราะผู้หญิงมีกิจวัตรประจำวัน เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า บิดผ้า จึงทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้
แม้ยุคนี้จะมีเครื่องซักผ้า แต่คุณแม่ส่วนใหญ่ก็มักจะซักเสื้อผ้าให้ลูกน้อยและลูกวัยรุ่นที่คอเสื้อเลอะคราบเหงื่อไคลด้วยตนเอง ส่วนคุณผู้ชายก็เป็นได้เช่นเดียวกัน อย่างผู้ที่มีอาชีพกราฟิกดีไซเนอร์ พิมพ์งานเอกสาร เชฟ หรือเล่นเกม ที่ต้องใช้งานมือหนัก ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงนักกีฬา หรือผู้ที่เล่นกีฬาอย่างจริงจังอย่างแบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง วอลเลย์บอล เป็นต้น
เมื่อเอ็นข้อมืออักเสบ สิ่งแรกที่ควรทำ คือ พักงานข้อมือ หลีกเลี่ยงการงอหรือบิดข้อมือ ไม่ยกของหนัก สำหรับเอ็นข้อมืออักเสบนั้นพบได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ดังนั้น ถ้าหากมีอาการหยุดพักแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น หรือดีขึ้นแล้วพอกลับมาทำงานอาการก็กลับมาเป็นอีก ควรต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี
บรรเทาปวด ลดการอักเสบ ฟื้นฟูเส้นเอ็น
เมื่อแพทย์ตรวจวินิจฉัยโรคแล้ว การทำกายภาพบำบัดร่วมกับการรักษาแบบบูรณาการจะเป็นแนวทางการรักษาหลักของกายคตา แต่ไม่เพียงเท่านั้น เพราะแพทย์จะให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มืออย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการดูแลในระยะยาว พร้อมกับแนะนำวิธีการบริหารข้อมือที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง
กายภาพบำบัดเพื่อรักษา
การทำกายภาพบำบัดเป็นคำตอบที่ดีของการรักษาเอ็นข้อมืออักเสบ เพราะช่วยทั้งบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ ฟื้นฟูเส้นเอ็น และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อโดยรอบข้อมืออีกด้วย การทำกายภาพบำบัดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- การนวดโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อช่วยขยับข้อต่อ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ (Ultrasound Therapy) เพื่อลดปวด กระตุ้นฟื้นฟูปลอกหุ้มเอ็นข้อมือและเส้นเอ็นข้อมือ
- การรักษาด้วยแสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Laser Therapy) เพื่อช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมเส้นเอ็น
- การใช้เครื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation :PMS) ช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น
- การรักษาร่วมกับโภชนาการ โดยการเสริมวิตามินและอาหารที่เหมาะสม
นอกจากนี้ ยังสามารถรักษาแบบบูรณาการควบคู่กัน หรือจะรักษาเพิ่มเติมหลังจากรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดได้เช่นเดียวกัน โดยแนวทางการรักษาแบบบูรณาการ เช่น
- การฉีด Prolotherapy เพื่อช่วยรักษาข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระตุ้นให้เกิดการอักเสบและซ่อมแซมขึ้นใหม่ในระดับโมเลกุล
- การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยเองในปริมาณเล็กน้อยไปผ่านกระบวนทางการแพทย์ เมื่อได้เกล็ดเลือด สารเร่งการเจริญเติบโต (Growth Factor) ความเข้มข้นสูงที่เหมาะกับการรักษา จึงฉีดกลับเข้าร่างกายในจุดที่ต้องการรักษา เพื่อช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) เพื่อฟื้นฟู ซ่อมแซม และบำรุงการทำงานของเซลล์
- การใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ โดยการฉีดเซลล์หรือองค์ประกอบเซลล์เข้าร่างกาย เพื่อแก้ไขเซลล์เสื่อมสภาพ กระตุ้นการทำงาน และการสร้างเซลล์ใหม่
เทคนิคดี ๆ เพื่อการบริหารมือด้วยตัวเอง
- ดัดข้อมือลงให้มากเท่าที่จะทำได้ ทำค้างไว้นับ 1-5 ดัดข้อมือกระดกขึ้นค้างไว้นับ 1-5
- หงายมือขึ้น กำมือ แล้วค่อย ๆ กระดกข้อมือขึ้นค้างไว้นับ 1-5
- คว่ำมือลง กำมือ แล้วกระดกข้อมือขึ้นนับ 1-5 กระดกข้อมือลงค้างไว้นับ 1-5
- บีบบอลยาง ค้างไว้นับ 1-5 สลับกับคลายออก
- ตั้งฝ่ามือขึ้น แบมือเหยียดทุกนิ้วเป็นเส้นตรง งอทุกนิ้วยกเว้นนิ้วโป้ง กดลงที่ฝ่ามือ ค้างไว้นับ 1-5
ข้อมือเป็นส่วนที่ใช้งานมากที่สุดส่วนหนึ่งในร่างกาย จึงควรดูแลการใช้งานข้อมือ หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือหนัก ๆ หรืออยู่ในท่าเดิม ๆ นาน ๆ หลีกเลี่ยงการใช้งานที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บ และเมื่อใดที่รู้สึกถึงความผิดปกติของข้อมือ ควรหยุดพักการใช้งาน พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดีไม่ต้องปวดเพราะเอ็นข้อมืออักเสบ