หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคสุดฮอตของคนปวดหลัง

หากปวดหลังส่วนล่าง ปวดบั้นท้าย ปวดขาบ่อย ๆ หรือบางทีก็รู้สึกชาร่วมด้วย อาจไม่ใช่แค่ปัญหากล้ามเนื้อ เพราะอาจกำลังเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่หลังบริเวณหลังส่วนล่าง

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะกระดูกสันหลังส่วนคอ หลัง บริเวณหลังส่วนล่าง สำหรับในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหลังบริเวณหลังส่วนล่าง ซึ่งพบได้บ่อย โรคนี้เกิดจากกระดูกสันหลังเสียหาย จนทำให้เกิดการฉีกขาดของเส้นใยหมอนรองกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกบริเวณเอวปลิ้น เคลื่อน แตกกดทับเส้นประสาทจนเกิดอาการปวดหลัง ปวดบั้นท้าย ปวดต้นขา น่อง ร้าวลงขา ชา บางครั้งอาจก้าวเดินไม่ได้ และหากเป็นมากอาจส่งผลถึงขั้นไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ในอดีตอาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันพบได้ในคนทุกวัย

สำรวจตัวเองเพื่อเฝ้าระวัง

สาเหตุหลักของโรคนี้มีหลายปัจจัย ได้แก่ เกิดจากไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเคลื่อนไหวร่างกายผิดท่า นั่งทำงานเป็นเวลานาน ออกกำลังกายอย่างหนักแบบผิดลักษณะ ยกของหนัก เกิดจากอุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง และเกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม

การรักษา แพทย์จะตรวจยืนยันโรค พร้อมกับให้ข้อมูลถึงแนวทางการรักษาของ กายคตา โดยเราจะรักษาแบบไม่ผ่าตัด และมุ่งเน้นที่สาเหตุของโรค ด้วยการทำกายภาพบำบัดพยายามให้หมอนรองกระดูกสันหลังกลับเข้าที่เดิม ลดอาการปวด ร่วมกับการรักษาแบบบูรณาการเพื่อฟื้นฟู เสริมความแข็งแรง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปพร้อมกัน  

กายภาพบำบัด ทำได้หลายวิธี ดังนี้  

  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) เป็นการใช้คลื่นกระแทกไปกระตุ้นบริเวณที่มีอาการปวดหรือบาดเจ็บเรื้อรังเพื่อทำให้เลือดไหลเวียนในบริเวณนั้นมากขึ้น ทั้งช่วยลดการอักเสบ และทำให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • การรักษาด้วยแสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser) เพื่อช่วยกระตุ้นการซ่อมแซม ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท
  • การใช้ระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation :PMS) เป็นการรักษาด้วยการส่งคลื่นไปกระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดในส่วนนั้นไหลเวียนได้ดีขึ้น โดยไม่เกิดการบาดเจ็บที่อวัยวะโดยรอบ

  • การดึงกระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar Traction) ยืดกล้ามเนื้อ ลดแรงกดต่อข้อต่อกระดูกสันหลัง ลดการกดทับเส้นประสาทสันหลัง และช่วยลดแรงกดบนหมอนรองกระดูก
  • การออกกำลังกาย (Exercises) เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ร่วมกับการฝึกหายใจ
  • การขยับข้อต่อ (Mobilization) เป็นการขยับข้อต่อให้หายจากการติดขัดหรืออาการเจ็บปวด
  • การใช้คลื่นอัลตราซาวนด์ (Ultrasound Therapy) เพื่อลดปวด ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ เร่งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในข้อต่อในชั้นลึก ๆ
  • การรักษาร่วมกับการดูแลทางโภชนาการ วิตามิน โดยการให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะกับแต่ละบุคคล และแพทย์อาจจะเสริมวิตามินที่มีประโยชน์ควบคู่กัน

การรักษาแบบบูรณาการ แพทย์จะพิจารณาจากอาการของโรคและสุขภาพของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งแต่ละคนจะเลือกใช้การรักษาแตกต่างกันเช่น การฉีด Prolotherapy การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) และใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ เป็นต้น

 

ทั้งนี้ สิ่งที่อยากฝากไว้สำหรับทุกคน ไม่ว่าผู้ที่มีอาการและรักษาดีขึ้นแล้ว หรือผู้ที่ยังไม่มีอาการ ให้พึงระลึกเสมอว่า อย่าทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำร้ายกระดูกสันหลัง อย่าใช้กระดูกสันหลังอย่างผิดวิธี ควรบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงสม่ำเสมอ และถ้าเริ่มรู้สึกว่ามีอาการเสี่ยงต่อโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ    

 

......................................

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
อายุมากขึ้น กระดูกสันหลังเสื่อม ระวังโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ปัญหาหลักจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ไม่ใช่เรื่องของคนสูงอายุ แต่เกิดเพราะอายุที่มากขึ้น
เส้นประสาทอักเสบ
เส้นประสาทอักเสบ เป็นภาวะของเส้นประสาทที่มีสาเหตุใดก็ตามซึ่งมากระทำกับเส้นประสาทจนส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้นมา....
ปวดหลังส่วนล่าง อาการกวนใจที่ใคร ๆ ก็เป็นได้
ปวดหลังส่วนล่าง อาการที่มักสร้างความรำคาญใจให้กับคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ ลักษณะอาการที่แต่ละคนเป็นอาจแตกต่างกันไป
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy