ข้อเท้าแพลง เรื่องธรรมดาที่อาจนำไปสู่ปัญหาที่มากกว่า
ข้อเท้าแพลง เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และสาเหตุหลัก ๆ ก็มาจากอุบัติเหตุ ได้แก่
- อุบัติเหตุจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ก้าวพลาด ลื่น ตกรองเท้าส้นสูงหรือส้นตึก
- อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย เช่น การวิ่งและการกระโดดโดยลงน้ำหนักผิดวิธี
- อุบัติเหตุจากการสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม คือ การใส่รองเท้าไม่เหมาะกับกิจกรรม เช่น รองเท้าผ้าใบที่มีเพื่อใส่เดินในชีวิตประจำวัน แต่กลับนำไปใช้วิ่ง เป็นต้น
ข้อเท้าแพลง ข้อเท้าพลิก (Ankle Sprain) มีการฉีกขาดของเอ็นยึดกระดูก เนื่องจากข้อเท้าบิด หมุนจากเท้าแบบรวดเร็ว จึงทำให้เอ็นข้อยึด เนื้อเยื่อโดยรอบข้อเท้าบาดเจ็บ โดยส่วนใหญ่เมื่อเกิดอุบัติเหตุข้อเท้าแพลง คำพูดที่พบบ่อยก็คือ แค่ข้อเท้าแพลงเดี๋ยวก็หาย แต่ในความจริงแล้ว เมื่อข้อเท้าแพลง ควรเข้ารับการรักษา เพราะถ้าปล่อยไว้ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น อาทิ ภาวะหินปูนในข้อเท้า ข้อเท้าหลวม และหากข้อเท้าหลวมก็จะส่งผลให้เกิดข้อเท้าพลิกได้บ่อย และเมื่อเกิดบ่อย ๆ จะทำให้ข้อเท้าเสื่อม
ดังนั้น เมื่อข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง ควรดูแลรับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยการทำกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ และฟื้นฟูเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อโดยรอบข้อเท้า ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
- การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ (Ultrasound Therapy) เพื่อลดปวด กระตุ้นการฟื้นฟูเส้นเอ็น
- การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) ช่วยลดปวด กระตุ้นให้มีการซ่อมแซมเส้นเอ็น เนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ
- การใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser) ช่วยลดปวด บวม และยังช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น
- การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation: PMS) ช่วยลดปวด ยังช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น
- การยืดคลายกล้ามเนื้อ โดยนักกายภาพบำบัดจะกดคลายกล้ามเนื้อบริเวณขาและข้อเท้า เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ขยับข้อต่อเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
นอกจากนี้ ยังสามารถรักษาแบบบูรณาการเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการรักษาที่เน้นกระตุ้นให้มีการซ่อมแซม และฟื้นฟูให้เส้นเอ็น เนื้อเยื่อรอบข้อเท้ามีความแข็งแรงมากขึ้น ได้แก่ การฉีด (Prolotherapy) การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) และการใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรต้องรักษาด้วยวิธีใดตามความเหมาะสม เพราะแต่คนมีความแตกต่างกัน ทั้งระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ อาการแสดง รวมถึงระยะเวลาของการบาดเจ็บ ทั้งที่เป็นแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ดังนั้นวิธีการรักษา และระยะเวลาที่ใช้จึงแตกต่างกัน
ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่ทุกคนควรให้ความใส่ใจเสมอเมื่อข้อเท้าเพลง คือ ต้องรีบรับการรักษา อย่าละเลย เพราะจาก ข้อเท้าแพลง อาการเล็ก ๆ ที่รักษาได้ แต่หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นปัญหาของโรคที่ใหญ่กว่าอย่างข้อเท้าเสื่อมได้เลยทีเดียว
......................