หนุ่มสาว Gen Z ระวัง! กระดูกต้นคอเสื่อม

กระดูกต้นคอเสื่อม โดยส่วนใหญ่พบบ่อยในคนอายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป แต่ ณ ปัจจุบันพบผู้ป่วยอายุน้อยลงส่วนหนึ่งเพราะไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น ทำงานในท่าก้มเป็นเวลานานมากขึ้น อย่างคนทำงานออฟฟิศที่ก้มพิมพ์งาน ผู้ที่ทำงานโรงงานต้องก้มทำงานตลอดเวลา หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการวิจัยที่ต้องก้มส่องกล้อง กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้คนยุคนี้เสี่ยงกับปัญหากระดูกต้นคอเสื่อม

หากจะถามว่ากระดูกคอเสื่อมเกิดจากสาเหตุใด ต้องบอกว่ามีจากหลายสาเหตุ และสาเหตุต่าง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเราค่อนข้างมากมีทั้งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ 

  • กระดูกคอเสื่อมตามวัย นับว่าเป็นสาเหตุหลัก  เพราะในอดีตทางการแพทย์เชื่อว่ากระดูกต้นคอเสื่อมนั้นเกิดขึ้นเพราะกระดูกคอเสื่อม
  • พฤติกรรมการใช้งานท่าทางการก้มคอที่ไม่ถูกต้อง ปัจจุบันคงต้องบอกว่าท่าทางการก้มคอที่ไม่ถูกต้องเป็นอีกสาเหตุที่สำคัญ เพราะเมื่อต้องก้มคอเป็นเวลานาน ๆ กล้ามเนื้อจะไม่มีกำลังจึงทำให้กระดูกคอเสื่อม และคนไข้ที่ป่วยด้วยสาเหตุนี้พบผู้ที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ  
  • อุบัติเหตุ นอกจากมีที่มาจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่พบได้แล้ว ยังพบได้จากอุบัติเหตุบาดเจ็บการเล่นกีฬา เช่น กระดูกร้าว เส้นเอ็นช้ำ ซึ่งในระยะยาวก็จะส่งผลให้กระดูกเสื่อมได้ เหตุผลหนึ่งเพราะกลุ่มคนวัย Gen Z รักสุขภาพ ชอบออกกำลังกาย และบางคนทำไม่ถูกวิธี จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สามารถพบผู้ป่วยวัย Gen Z กระดูกต้นคอเสื่อมได้มากขึ้น

อาการที่พบได้บ่อย เช่น

  •  ปวดตึงต้นคอง่าย รู้สึกเมื่อย ๆ คอ
  •  รู้สึกปวดร้าวลงแขน ปวดร้าวข้อศอก ปลายนิ้วหรือปลายมือ ซึ่งอาการปวดร้าวเหล่านี้นับเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนัก เพราะอาจมีการกดทับเส้นประสาทร่วมด้วย
  • มีอาการชา ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่ามีปัญหาเส้นประสาทถูกกดทับ
  • อ่อนแรง ซึ่งเป็นอาการที่บ่งชี้ว่ามีอาการกระดูกต้นคอเสื่อมมาก

เริ่มรักษาตั้งแต่ต้น ผลที่ได้ย่อมดีกว่า

หากเริ่มรู้สึกเมื่อย ตึง ๆ ต้นคอ อาจเริ่มจากหยุดพักกิจกรรมที่ต้องก้มคอ และออกกำลังกายยืดเส้น แต่ถ้าทำแล้วยังรู้สึกไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจรักษา โดยแนวทางการรักษาของกายคตาจะเน้นรักษาด้วยกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการเจ็บปวดร่วมกับการฟื้นฟูบริเวณต้นคอที่เกิดความเสื่อม โดยใช้เครื่องมือดังนี้

  • การใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser) ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นประสาท ช่วยลดอาการปวดและอักเสบ
  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) ช่วยลดอาการปวดบริเวณข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ
  • การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation :PMS) เครื่องมือที่ช่วยในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ที่มีอาการชา แขนขาอ่อนแรง 
  • เครื่องอัลตราซาวนด์ (Ultrasound Therapy) ช่วยลดอาการปวด การอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง

วิธีการรักษาที่เน้นเพื่อการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและฟื้นฟูถึงระดับเซลล์ มีหลายวิธี ได้แก่ การฉีด Prolotherapy เป็นการฉีดสารที่ประกอบในกลุ่มของกลูโคสในจุดที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซม การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตนเอง PRP (Platelet Rich Plasma) โดยนำเลือดของผู้ป่วยในปริมาณเล็กน้อยมาปั่นแยกชั้นของพลาสมา(Plasma) และเกล็ดเลือดเข้มข้น จากนั้นจึงนำพลาสมาและเกล็ดลือดไปผ่านกระบวนทางการแพทย์ ซึ่งจะทำให้ได้เกล็ดเลือด สารเร่งการเจริญเติบโต (Growth Factor) ความเข้มข้นสูงที่เหมาะกับการรักษา จึงฉีดกลับเข้าร่างกายในจุดที่ต้องการรักษา เพื่อช่วยฟื้นฟูเซลล์ กระตุ้นการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) เพื่อฟื้นฟู บำรุงการทำงานของเซลล์ และการใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ ด้วยการฉีดเซลล์หรือองค์ประกอบเซลล์ เพื่อกระตุ้นการทำงาน และการสร้างเซลล์ใหม่

แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามความเหมาะสมเป็นรายบุคคล ระยะเวลาในการรักษาก็เช่นเดียวกัน แต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาการ สุขภาพ และโรคอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยเป็น เมื่อป่วยแล้วการรักษาย่อมเป็นหน้าที่ของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่จะช่วยรักษาอย่างเต็มที่  แต่ขณะเดียวกันการดูแลรักษาสุขภาพ การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้อาการป่วยเป็นมากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือ เพราะการปฏิบัติตัว ดูแลตัวเอง ความตั้งใจในการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยคือองค์ประกอบสำคัญที่จะบอกถึงผลลัพธ์ของการรักษาได้เช่นเดียวกัน

.............

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
อายุมากขึ้น กระดูกสันหลังเสื่อม ระวังโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ปัญหาหลักจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ไม่ใช่เรื่องของคนสูงอายุ แต่เกิดเพราะอายุที่มากขึ้น
เส้นประสาทอักเสบ
เส้นประสาทอักเสบ เป็นภาวะของเส้นประสาทที่มีสาเหตุใดก็ตามซึ่งมากระทำกับเส้นประสาทจนส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้นมา....
ปวดหลังส่วนล่าง อาการกวนใจที่ใคร ๆ ก็เป็นได้
ปวดหลังส่วนล่าง อาการที่มักสร้างความรำคาญใจให้กับคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ ลักษณะอาการที่แต่ละคนเป็นอาจแตกต่างกันไป
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy