สารพันคำถามกับปัญหา เอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบ
Q: เอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบเกิดจากสาเหตุใด?
A: สำหรับการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่นั้น เกิดได้ทั้งจากการใช้งานและความเสื่อม โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
- ผู้ที่อายุน้อย สาเหตุมักบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาที่ต้องยกแขนสูง อย่างนักว่ายน้ำ นักแบดมินตัน นักยกน้ำหนัก นักบาสเกตบอล และนอกจากนี้ อีกสาเหตุที่สำคัญ คือ การทำงานที่ต้องใช้งานไหล่ซ้ำ ๆ เช่น ผู้ที่ทำงานทาสี ทำความสะอาดกระจก
- ผู้สูงอายุ สาเหตุมักเกิดจากความเสื่อมตามวัย โดยเฉพาะในผู้ที่ในอดีตมีการใช้งานข้อไหล่อย่างหนัก
Q: อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร?
A: อาการที่สามารถพบได้ เช่น
- เจ็บบริเวณเอ็นที่ไหล่
- ข้อยึดหรือข้อไหล่ติด
- เคลื่อนไหวแขนไม่ได้ตามปกติ เช่น ยกแขนไม่ถนัด ยกแขนไม่ได้สูง กางแขนได้ไม่มาก
- ปวดเวลานอนตะแคงไม่สามารถนอนตะแคงทับไหล่ที่เจ็บได้
- ใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องมีการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลำบาก อย่างการใส่เสื้อ หวีผม การยกแขนหยิบสิ่งของ
Q: การตรวจรักษาต้องทำอย่างไร
A: แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียดเป็นรายบุคคล ซึ่งอาจใช้การตรวจเอกซเรย์ หรือตรวจ MRI ร่วมด้วย และในการรักษาสามารถทำได้โดยการทำกายภาพบัดร่วมกับการรักษาเพื่อฟื้นฟู ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเซลล์บริเวณข้อไหล่ไปพร้อมกัน โดยเน้นอย่างตรงจุดที่สาเหตุของโรคว่าเกิดจากการอักเสบ มีการฉีกขาดของเส้นเอ็น หรือมีพังผืดจึงทำให้เกิดอาการ
การทำกายภาพบำบัดและการรักษาแบบบูรณาการด้วยการฟื้นฟู ซ่อมแซม ลงลึกถึงระดับเซลล์
- การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation :PMS) ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่ถูกกระตุ้น ช่วยฟื้นฟูการทำงานของระบบประสาท ช่วยลดอาการปวดแบบเรื้อรังได้ดี
- การรักษาด้วยคลื่นกระแทก ( Shock Wave Therapy) เป็นกลไกการส่งผ่านคลื่นกระแทกไปยังบริเวณที่ปวด กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ กระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเอง กระตุ้นการหลั่งสารลดปวด ทำให้ลดอาการปวดได้
- การรักษาด้วยแสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Laser Therapy) ช่วยในการรักษาอาการปวดจากโรคของระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยให้หายจากการอักเสบและอาการปวดได้เร็วขึ้น
- การขยับข้อต่อ (Mobilization) เป็นการขยับข้อต่อให้หายจากการติดขัดหรืออาการเจ็บปวด
- การใช้คลื่นอัลตราซาวนด์ (Ultrasound therapy) เพื่อลดปวด เร่งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในข้อต่อในชั้นลึก
- ให้คำแนะนำเพื่อการบริหารกล้ามเนื้อ ยืดเส้นเอ็น
- การดูแลด้านโภชนาการ ให้คำแนะนำเรื่องโภชนาการ และการเสริมวิตามินเป็นรายบุคคล
- การรักษาแบบบูรณาการที่ลงลึกถึงระดับเซลล์ สามารถทำได้ตั้งแต่ การฉีด Prolotherapy การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) และการใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรต้องรักษาด้วยวิธีใด ซึ่งแต่ละวิธีเน้นเพื่อการซ่อมแซม ฟื้นฟูเส้นเอ็น และเนื้อเยื่อให้มีความแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางหลักของการรักษาแบบบูรณาการ
แม้เอ็นข้อไหล่อักเสบไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เป็นอาการที่สร้างความรำคาญและส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หากยิ่งปล่อยไว้ จะทำให้การใช้ชีวิตในระยะยาวยิ่งลำบากมากขึ้น จึงไม่ควรละเลยแม้เป็นอาการเพียงเล็กน้อย
.........................