ปัญหาเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ Tennis elbow
ปวดหรือเจ็บบริเวณข้อศอกด้านนอก ปวดมากขึ้นเวลามีการขยับแขน ยิ่งเวลาที่ต้องเล่นกีฬา อย่างการเล่นแบดมินตัน เล่นเทนนิส หรือการกวาดบ้าน ทำกับข้าว และยกของ เพราะถ้าหากมีการเหล่านี้เกิดขึ้น นั่นแสดงว่าร่างกายส่งสัญญาณบอกว่าอาจกำลังเผชิญกับปัญหา เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ Tennis Elbow
Tennis Elbow เกิดจากการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างที่เกาะบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของข้อศอก ซึ่งเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อข้อศอกด้านนอกเป็นเวลานาน ซ้ำ ๆ จึงทำให้มีอาการปวด บวมบริเวณข้อศอกด้านนอก โดยเฉพาะเวลาที่ต้องมีการขยับหมุนข้อศอก คว่ำฝ่ามือ กระดกข้อมือ บิดแขน หรือถือ ยกของหนักเป็นเวลานาน Tennis Elbow จึงพบได้บ่อยในนักกีฬาเทนนิส นักแบดมินตัน รวมถึงอาชีพอื่น ๆ อย่างเชฟ แม่บ้าน หรือผู้ที่ทำงานช่าง พี่เลี้ยงเด็ก เป็นต้น
เมื่อมีอาการเกิดขึ้น อันดับแรกที่ต้องปฏิบัติ คือสังเกตว่ากิจกรรมใดในชีวิตประจำวันที่ทำแล้วทำให้มีอาการปวด หรือรู้สึกเจ็บ เมื่อทราบแล้วต้องหยุดกิจกรรมนั้น และประคบเย็น หากอาการไม่ดีขึ้นก็ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
กายคตา กายภาพบำบัดเพื่อรักษา Tennis Elbow
ผู้ที่เป็น Tennis Elbow แพทย์จะเลือกวิธีการทำกายภาพบำบัดให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยเครื่องมือที่ใช้นั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการตอบสนองการรักษาในแต่ละวิธีของแต่ละคน รวมถึงระยะเวลาในการรักษาย่อมแตกต่างกัน ผู้ที่มีอาการไม่มาก และมาพบแพทย์เร็วอาการก็จะหายได้เร็วกว่าผู้ที่ปล่อยให้อาการเรื้อรัง
วิธีรักษา Tennis Elbow ด้วยการทำกายภาพบำบัด สามารถใช้เครื่องมือหลัก ๆ ดังนี้
- การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ และการรักษาด้วยคลื่นกระแทกยังช่วยลดอาการปวดได้
- การใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser) ช่วยลดอาการปวด บวม อักเสบ เลเซอร์ยังช่วยกระตุ้นเร่งการฟื้นฟู ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อบริเวณที่บาดเจ็บไปพร้อม ๆ กัน
- การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ (Ultrasound Therapy) เพื่อช่วยลดอาการปวด ลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ รักษาอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็น
นอกจากนี้ ยังสามารถรักษาด้วยวิธีอื่นที่เป็นแนวทางธรรมชาติบำบัดควบคู่ไปพร้อมกันได้ด้วย ได้แก่
- การฉีด Prolotherapy เป็นการฉีดกลูโคสไปยังจุดที่บาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นให้มีการอักเสบเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง
- การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยเองในปริมาณไม่มากมาปั่น เพื่อแยกชั้นของพลาสมาและเกล็ดเลือดเข้มข้น เมื่อได้เกล็ดเลือดเข้มข้นที่มี Growth Factor สูงที่เหมาะกับการรักษา จึงฉีดกลับเข้าร่างกายในจุดที่ต้องการรักษา เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ เพื่อรักษาการบาดเจ็บและฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วย
- การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) เพื่อดูแลและบำรุงเซลล์ ที่เสื่อมสภาพ ช่วยฟื้นฟูการทำงานของเซลล์
- การใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ โดยการฉีดเซลล์หรือองค์ประกอบเซลล์ ร่างกายจะนำเซลล์ใหม่ไปยังส่วนที่ทำการรักษาโดยอัตโนมัติ เพื่อกระตุ้นเซลล์อื่น ๆ ให้มีการแบ่งตัวและสร้างเซลล์ใหม่
Tennis Elbow เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดเฉพาะกับนักเทนนิสเท่านั้น แต่จากข้อมูลข้างต้นพบว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่ใกล้ตัวเป็นอย่างมาก ดังนั้น ทุกคนควรใส่ใจท่าทางการใช้แขน ข้อมืออย่างเหมาะสม พร้อมทั้งยืดกล้ามเนื้อก่อนใช้งาน และบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด Tennis Elbow
.......................................