รองช้ำ เจ็บทุกทีที่เริ่มก้าวเดิน

รองช้ำ อาจไม่ใช่โรคร้ายแรงจนเป็นปัญหาสุขภาพที่น่ากลัว แต่ก็เล็กพริกขี้หนูไม่เบาทีเดียว เพราะคงใช้ชีวิตไม่มีความสุข ถ้าทุกครั้งที่ก้าวเดินจะรู้สึกเจ็บแปล๊บๆ

โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar fasciitis) หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อ โรครองช้ำ มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยง ทั้งจากความเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น กระดูกรูปเท้าผิดปกติ และเกิดจากการใช้ชีวิตที่เส้นเอ็นร้อยหวายมีความตึงเกินไป ซึ่งมีที่มาจากการใช้งาน โดยการยืนหรือเดินมากเป็นเวลานาน ๆ แต่ไม่ได้มีการยืดเส้นเอ็น รวมทั้งจากการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม อาทิ การใส่รองเท้าส้นสูงมาก รองเท้าที่พื้นแข็งมากเกินไป ผนวกกับต้องยืน เดินเป็นเวลานาน ๆ

โรครองช้ำ เกิดจากเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการอักเสบที่บริเวณฝ่าเท้า ซึ่งแพทย์ตรวจวินิจฉัยได้โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจเอกซเรย์ และอัลตราซาวนด์ สำหรับการรักษาสามารถทำได้โดยการทำกายภาพบำบัด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ร่วมกับการรักษาแบบบูรณาการ

กายภาพบำบัดกับการรักษาโดยไร้สเตียรอยด์

ผู้ป่วยที่มีอาการรองช้ำแต่ละคนจะมีอาการที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกเครื่องมือเพื่อใช้ในการรักษา แพทย์จึงต้องพิจารณาแบบเฉพาะเป็นรายบุคคล สำหรับเครื่องมือที่ใช้สำหรับการทำกายภาพบำบัดหลัก ๆ ของโรครองช้ำ ได้แก่

  • การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ (Ultrasound Therapy) เพื่อลดปวด ลดการอักเสบ ช่วยคลายกล้ามเนื้อและยังช่วยการยึดตึง
  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) ช่วยสลายพังผืดที่เท้า พร้อมทั้งยังช่วยลดปวด
  • เครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยคลายกล้ามเนื้อ (Peripheral Magnetic Stimulation: PMS) ช่วยเรื่องการบาดเจ็บ อาการปวดเรื้อรังจากกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยลดอาการชา ลดปวด กระตุ้นเส้นประสาทที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น และสามารถลงลึกถึงจุดปวดตำแหน่งที่ไม่สามารถนวดได้

  • การใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser) โดดเด่นในการช่วยลดปวด บวม อักเสบของระบบกล้ามเนื้อ ลดการตึงของเอ็นฝ่าเท้า รวมถึงช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น
  • การยืดกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยนักกายภาพบำบัด เนื่องจากกล้ามเนื้อน่องและฝ่าเท้าเป็นเส้นเดียวกัน การยืดเหยียดและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อน่องจึงมีความสำคัญกับโรครองช้ำ

ครอบคลุมอย่างตรงจุด

กายคตาให้การรักษาอย่างครอบคลุม ทั้งกายภาพบำบัดและการรักษาที่เน้นช่วยกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมฟื้นฟูตัวเองในระดับเซลล์แบบไร้สเตียรอยด์ รวมถึงให้คำแนะนำเพื่อการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง อาทิ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การยืดเหยียดคลายเส้นเอ็น การเสริมด้านโภชนาการด้วยอาหารและวิตามิน การเลือกรองเท้าและอุปกรณ์เสริมเท้าที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ เทคนิคการดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เป็นต้น

สำหรับโรครองช้ำ หากปล่อยไว้จะทำให้เกิดอาการเรื้อรังได้ ดังนั้นหากเริ่มมีอาการควรรีบเข้ารับการรักษา เพื่อชีวิตจะได้ไม่ต้องถูกจำกัดเพียงเพราะคำว่า เจ็บเท้ารองช้ำ


บทความที่เกี่ยวข้อง
อายุมากขึ้น กระดูกสันหลังเสื่อม ระวังโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ปัญหาหลักจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ไม่ใช่เรื่องของคนสูงอายุ แต่เกิดเพราะอายุที่มากขึ้น
เส้นประสาทอักเสบ
เส้นประสาทอักเสบ เป็นภาวะของเส้นประสาทที่มีสาเหตุใดก็ตามซึ่งมากระทำกับเส้นประสาทจนส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้นมา....
ปวดหลังส่วนล่าง อาการกวนใจที่ใคร ๆ ก็เป็นได้
ปวดหลังส่วนล่าง อาการที่มักสร้างความรำคาญใจให้กับคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ ลักษณะอาการที่แต่ละคนเป็นอาจแตกต่างกันไป
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy