นิ้วล็อก
พิมพ์งานมากจนนิ้วล็อก เล่นเกมหนักจนนิ้วล็อก สิ่งเหล่านี้คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของคนในปัจจุบัน เพราะคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต ทั้งเพื่อใช้ในการทำงาน หรือเพื่อความผ่อนคลาย
นิ้วล็อก (Trigger Finger) จึงเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับคนที่ใช้งานนิ้วด้วยการงอนิ้วมาก กำนิ้วแน่นมาก เช่น พนักงานคีย์ข้อมูล ผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนทั้งวันเป็นประจำ ผู้ที่เล่นเกมทั้งบนสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ผู้ที่ถือของหนัก รวมถึงผู้ที่ต้องใช้แรงกำมือบ่อย ๆ อย่าง เชฟ แม่บ้าน เป็นต้น
นิ้วล็อก คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น (Tenosynovitis) บริเวณข้อโคนนิ้ว มีการหนาตัวขึ้นเป็นพังผืด ทำให้ปลอกรัดเอ็นมากขึ้น จึงไม่สามารถงอหรือเหยียดได้ตามปกติ อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ (Metacarpophalangeal Joint) นิ้วเคลื่อนไหวติด สะดุด ต่อมาจะมีการล็อกไม่สามารถงอหรือเหยียดได้เองจึงต้องใช้มืออีกข้างช่วยเหยียดและในที่สุดข้อนิ้วจะยึดติดไม่สามารถกำมือได้สุด
เทคนิคการรักษาและดูแลตัวเองแบบบูรณาการ
การรักษานิ้วล็อกกับกายคตาจะใช้วิธีรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยการทำกายภาพบำบัดเป็นหลัก ควบคู่กับการรักษาแบบบูรณาการที่เน้นดูแลรักษาที่ต้นตอของโรค การดูแลด้านโภชนาการร่วมกับการเสริมวิตามิน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาเพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเอง ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาที่ได้ผลดีกับอาการนิ้วล็อก
สำหรับการรักษาด้วยกายภาพบำบัด สามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้
- การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ (Ultrasound Therapy) เพื่อลดปวด กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดปวด ลดการอักเสบที่บริเวณข้อนิ้ว
- คลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) ซึ่งจะช่วยสลายพังผืด บรรเทาอาการปวด
- เครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยคลายกล้ามเนื้อ (Peripheral Magnetic Stimulation: PMS) เป็นวิธีการกระตุ้นประสาทส่วนปลายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถกระตุ้นโดยตรงลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ เส้นประสาท เนื้อเยื่อ และกระดูก ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ยับยั้งอาการ
- การใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser) ช่วยลดอาการปวด ลดการอักเสบบริเวณข้อนิ้ว และช่วยบรรเทาความเจ็บได้ด้วยอีกทางหนึ่ง
- การรักษาร่วมกับการดูแลทางโภชนาการ ด้วยการเสริมวิตามินและอาหารที่เหมาะสม
การรักษาแบบบูรณาการ สามารถทำได้ตั้งแต่ การฉีด (Prolotherapy) การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) และการใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรต้องรักษาด้วยวิธีใด ซึ่งแต่ละวิธีเน้นเพื่อการซ่อมแซม ฟื้นฟูเส้นเอ็น และเนื้อเยื่อให้มีความแข็งแรงมากขึ้นซึ่งเป็นแนวทางหลักของการรักษาแบบบูรณาการ
Tips การใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น ห่างนิ้วล็อก
นอกจากการเข้ารับการรักษากับแพทย์แล้ว การดูแลตัวเองด้วยการบริหารข้อมือและนิ้วมือเป็นประจำเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดการบาดเจ็บของมือก็เป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตคือสิ่งที่ควรปฏิบัติ อย่างการจำกัดเวลาใช้สมาร์ทโฟน และในบางครั้งอาจนำเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อเป็นอีกช่องทางในการลดปัญหานิ้วล็อก เช่น การใช้หูฟังแทนการถือโทรศัพท์เมื่อต้องคุยเป็นเวลานาน ๆ หากต้องพิมพ์ข้อความในสมาร์ทโฟนมาก ๆ ลองใช้ฟีเจอร์ Speech To Text หรือการพูดเพื่อพิมพ์ข้อความยาว ๆ แทน เป็นต้น
ทุกขั้นตอนการรักษากับกายคตา เราให้ความสำคัญกับการรักษาที่ลงลึกถึงต้นตอของปัญหา เราจึงไม่ได้รักษาเพียงแค่ภายนอก แต่ต้องบำรุง และฟื้นฟูจากภายในควบคู่กัน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเอง และเมื่อทุกบริบทของการรักษาได้รับการตอบสนองที่ดี ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นก็จะถูกแก้ไขอย่างถูกต้องและตรงจุด