ชาแขน ชาข้อศอก อย่าคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา

ทำไมรู้สึกชาที่แขน ชาที่ข้อศอก เหยียดไม่คล่องเหมือนปกติ

อาการชาแขน ชาข้อศอก เป็นอาการเริ่มต้นของโรคได้หลายชนิด แต่ที่พบมากในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้นออฟฟิศซินโดรม เพราะหลายคนคิดว่าต้องปวดศีรษะ ปวดคอ บ่า ไหล่ ไม่ใช่แค่นั้น เพราะออฟฟิศซินโดรมมีอาการแสดงได้หลากหลาย 

คนทำงานออฟฟิศ หรือผู้ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์บ่อย ๆ เป็นเวลานาน ด้วยท่าทางไม่ถูกต้อง เช่น วางแขนไม่พอดีกับระดับของแป้นพิมพ์ ไม่มีที่วางสำหรับรองข้อศอก ดังนั้น เมื่อร่างกายต้องทำงานโดยใช้แขนอย่างไม่ถูกต้อง ซ้ำ ๆ เป็นเวลานานย่อมส่งผลให้เกิดพังผืด มีอาการชา และเมื่อพังผืดหนามากขึ้นจะส่งผลให้เกิดการกดทับเส้นประสาท   

ดังนั้น เมื่อมีอาการชาแขน ชาข้อศอก ควรรีบเข้ารับการรักษา เพราะหากพังผืดยังไม่หนาอาการชาก็จะไม่มาก แต่ถ้าพังผืดหนาแข็งมาก จะยิ่งชามาก และหากปล่อยไว้จนพังผืดหนามากขึ้น จะส่งผลให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นมีอาการปวด และเกิดการอ่อนแรงได้ในที่สุด คติสำคัญที่ควรระลึกไว้เสมอเมื่อมีอาการชา คือ แม้มีอาการชาเพียงเล็กน้อย ต้องบอกกับตัวเองว่า ร่างกายมีความผิดปกติ ต้องพบแพทย์ อย่าปล่อยไว้ เพราะถ้าปกติดีต้องไม่มีอาการชา 

กายคตาสามารถให้การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดและการรักษาแบบบูรณาการร่วมด้วย เป็นการรักษาที่มุ่งเน้นที่สาเหตุไม่ใช่แค่เพียงรักษาตามอาการ แนวทางการรักษามีหลายวิธี ดังนี้

การทำกายภาพบำบัด 

  • การทำกายภาพบำบัดช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อยืด หด และคลายตัว ซึ่งทำได้หลายวิธี ได้แก่
    • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) ช่วยลดปวด กระตุ้นให้มีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บเรื้อรัง  
    • การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation :PMS) ช่วยลดปวด เกร็ง และอาการชา ยังช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น  
    • การใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser) ช่วยลดอาการชา เลเซอร์สามารถลงลึกไปถึงตำแหน่งที่ก่อให้เกิดอาการชา ทั้งเร่งกระบวนการซ่อมแซมและฟื้นฟูเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ
    • การรักษาร่วมกับโภชนาการ โดยการเสริมวิตามินและอาหารที่เหมาะสม 
    • การออกกำลังกาย นอกจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว นักกายภาพจะแนะนำให้ออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อตามความเหมาะสม เช่น การเล่นโยคะ พิลาทิส  หรือแอโรบิก เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้ร่างกายร่วมกับการรักษา เพราะการออกกำลังกายเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณที่มีอาการชาไม่ให้แย่ลง แต่ถ้าจะให้กล้ามเนื้อบริเวณแขนและข้อศอกแข็งแรงขึ้นต้องอาศัยการทำกายภาพบำบัดและการรักษาอื่นร่วมด้วย

การรักษาแบบบูรณาการ

  • การฉีด Prolotherapy จะกระตุ้นให้มีการอักเสบเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง
  • การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยเองในปริมาณเล็กน้อยมาปั่นแยกชั้นของพลาส (Plasma) และเกล็ดเลือดเข้มข้น จากนั้นจึงนำพลาสมาและเกร็ดเลือดไปผ่านกระบวนทางการแพทย์ ซึ่งจะทำให้ได้เกล็ดเลือด สารเร่งการเจริญเติบโต (Growth Factor) ความเข้มข้นสูงที่เหมาะกับการรักษา จึงฉีดกลับเข้าร่างกายในจุดที่ต้องการรักษา เพื่อช่วยฟื้นฟูเซลล์ กระตุ้นการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) เพื่อฟื้นฟู ซ่อมแซม และบำรุงการทำงานของเซลล์
  • การใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ โดยการฉีดเซลล์หรือองค์ประกอบเซลล์เข้าร่างกาย เพื่อแก้ไขเซลล์เสื่อมสภาพ และกระตุ้นการทำงานและการสร้างเซลล์ใหม่

อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการรักษาของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค จึงอยากฝากให้ทุกคนใส่ใจ หากพบมีอาการควรรีบรักษา อย่าละเลย 

......................................

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
อายุมากขึ้น กระดูกสันหลังเสื่อม ระวังโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ปัญหาหลักจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ไม่ใช่เรื่องของคนสูงอายุ แต่เกิดเพราะอายุที่มากขึ้น
เส้นประสาทอักเสบ
เส้นประสาทอักเสบ เป็นภาวะของเส้นประสาทที่มีสาเหตุใดก็ตามซึ่งมากระทำกับเส้นประสาทจนส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้นมา....
ปวดหลังส่วนล่าง อาการกวนใจที่ใคร ๆ ก็เป็นได้
ปวดหลังส่วนล่าง อาการที่มักสร้างความรำคาญใจให้กับคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ ลักษณะอาการที่แต่ละคนเป็นอาจแตกต่างกันไป
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy