นั่งนาน ระวังป่วยกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท
ชาลงขา รีบพบแพทย์ แต่อย่าตื่นกลัว!
อาการชาขา มักพบได้จากโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทและโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่สิ่งที่แพทย์บอกเสมอคืออย่ากังวล อย่าคิดเอาเองว่าอาการจะร้ายแรงจนถึงขั้นอัมพฤกษ์ อัมพาต เพราะสุดท้ายป่วยด้วยสาเหตุใดแพทย์จะตรวจวินิจฉัยและให้แนวทางการรักษา เพียงทำตามคำแนะนำย่อมดีขึ้นได้
สำหรับ โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือ Piriformis Muscle เกิดจากมีพังผืดหลังข้อสะโพกดึงรั้ง กดทับเส้นประสาทที่ไปยังขา อาจมีอาการปวดร้าวที่ก้นไปขาด้านหลัง หรือชาร่วมด้วย ซึ่งผู้ที่เสี่ยงกับโรคนี้ ได้แก่ ผู้ที่ใช้ท่าทางในชีวิตประจำวันผิด โดยเฉพาะผู้ที่นั่งเป็นเวลานาน ผู้ที่นั่งและโน้มตัวไปด้านหน้า การยกของหนักผิดท่า
เหตุผลที่บอกว่าหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท อย่าตื่นกลัว เพราะโรคนี้โดยส่วนใหญ่หากรักษาอย่างถูกต้องและปฏิบัติตัวอย่างถูกวิธีสามารถหายได้เกิน 90 %
โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท การวินิจฉัยนอกจากตรวจร่างกาย แพทย์อาจให้ตรวจเพิ่มเติม อาทิ การ X-Ray การตรวจ CT Scan ตรวจ MRI และการตรวจเลือดเพื่อดูความสัมพันธ์กับโรคในระบบอื่น
STEP BY STEP กับการรักษาที่ลงลึกถึงต้นตอของโรค
โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท รักษาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด เน้นการยืดเส้นด้วยวิธีต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ได้แก่ การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave Therapy) การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation :PMS) การใช้แสงเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser) และการรักษาร่วมกับการดูแลทางโภชนาการ ด้วยการเสริมวิตามินและอาหารที่เหมาะสม
หลังการรักษาด้วยกายภาพบำบัด หากพบว่าเส้นประสาทที่ถูกหนีบไม่ดีขึ้น สามารถรักษาเพิ่มเติมด้วยการรักษาที่เน้นกระตุ้นให้เส้นประสาทได้รับการซ่อมแซม และฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการฉีด (Prolotherapy) การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) และการใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรต้องรักษาด้วยวิธีใด
อาการระดับใดจึงจะรักษาดีขึ้นได้
อีกหนึ่งคำถามที่หลายคนอยากทราบ นั่นก็คือ การรักษาโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทกับกายคตาด้วยการทำกายภาพบำบัดและการรักษาแบบบูรณาการต้องมีอาการระดับใดจึงจะรักษาได้ผล คำตอบก็คือทุกคนที่มีปัญหาสามารถเข้ารับการรักษาและดีขึ้นได้ เพียงแต่ผู้ที่มีอาการไม่มากก็จะเห็นผลการรักษาได้เร็วกว่าผู้ที่ปล่อยให้มีอาการมาก แต่มั่นใจได้ว่าทุกคนจะมีอาการที่ดีขึ้นได้ ขอเพียงรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ควรปรับพฤติกรรมลดการกระตุ้นอาการปวด ชา และออกกำลังกายอย่างถูกวิธีในระดับที่พอดี เพื่อสุขภาพที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดี