กระดูกสันหลังคด โค้งตัว C หรือตัว S ทำร่างกายเสียสมดุล
กระดูกสันหลังคด คือ อาการที่แนวกระดูกสันหลังผิดรูปคดโค้งคล้ายตัว C หรือตัว S ทำให้ร่างกายเสียสมดุลการทรงตัว เกิดได้ทั้งจากการใช้งานที่ผิดปกติและกระดูกสันหลังคดตั้งแต่กำเนิด
- กระดูกสันหลังคดจากการใช้งานที่ผิดปกติ (Functional Scoliosis) เช่น นักเรียนใช้กระเป๋าถือที่หนัก และเด็กบางคนจะถือกระเป๋าแล้วเอียงตัวไปอีกข้างหนึ่ง พฤติกรรมเอียงตัวเป็นเวลานาน ๆ ทุก ๆ วันจะทำให้กระดูกสันหลังคดได้
- กระดูกสันหลังคดตั้งแต่กำเนิด (Structural Scoliosis) มักจะเริ่มแสดงอาการช่วงวัยรุ่น เช่น ปวดหลัง มองเห็นลักษณะกระดูกสันหลังคดชัดเจนขึ้น
กระดูกสันหลังคดสังเกตอย่างไร?
อาการแสดงของแต่ละคนจะรุนแรงแตกต่างกัน โดยจะสังเกตเบื้องต้นได้ดังนี้ คือ มองเห็นกระดูกสันหลังคดชัดเจน ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ไหล่สองข้างไม่เท่ากัน ความนูนกระดูกสะบักไม่เท่ากัน และในผู้หญิงอาจพบหน้าอกไม่เท่ากัน
การรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด
สำหรับผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดที่จะเข้ารับการรักษากับกายคตานั้น แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยร่างกายอย่างละเอียดพร้อมส่งตรวจ CT Scan หรือ MRI และอาจตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ โดยแนวทางการรักษาของกายคตาจะมุ่งเน้นเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบ ๆ กระดูกสันหลัง เพื่อช่วยให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิมและป้องกันไม่ให้กระดูกคดงอมากยิ่งขึ้น ลักษณะความคด มุมของกระดูกสันหลัง คือ องค์ประกอบสำคัญในการที่แพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษา
เครื่องมือที่ใช้ในการทำ กายภาพบำบัดกระดูกสันหลังคด รักษาได้ด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ (Ultrasound Therapy) ซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และคลายกล้ามเนื้อบริเวณรอบกระดูกสันหลัง การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) เพื่อลดอาการปวด กระตุ้นให้เนื้อเยื่อจุดเจ็บเกิดการบาดเจ็บและซ่อมแซมตัวเอง การดึงกระดูกสันหลัง (Traction) จะช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณรอบกระดูกสันหลังให้มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ การให้คำแนะนำวิธีการออกกำลังกาย เพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อในท่าที่เหมาะกับลักษณะของกระดูกสันหลังคดที่เป็น เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ ช่วยให้มีความยืดหยุ่น เพิ่มความแข็งแรงให้แกนกลางลำตัว
องศาที่แตกต่างกัน
ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดทำมุมระหว่าง 10-25 องศา แพทย์จะแนะนำให้ออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัดร่วมกับการตรวจติดตามเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดทำมุมระหว่าง 25-45 องศา แพทย์จะแนะนำการใส่เสื้อเกราะเพื่อดัดหลัง (Brace) อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อวัน โดยจะใช้ในเด็กและวัยรุ่นจนถึงช่วงกระดูกหยุดการเจริญเติบโต
นอกจากการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด กายคตายังจะให้การรักษาแบบบูรณาการร่วมด้วย ทั้งการให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม การดูแลเรื่องโภชนาการควบคู่กับการเสริมวิตามิน และการดูแลรักษาเพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมฟื้นฟูตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล อาทิ การฉีด Prolotherapy การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นของตัวเอง PRP (Platelet Rich Plasma) การฉีดสารเปปไทด์ชีวภาพ (Nucleic acid) และการใช้เซลล์ซ่อมเซลล์เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อทราบว่ามีแนวโน้มเป็นกระดูกสันหลังคด ควรเข้ารับการรักษาทันที หากรักษาเร็วย่อมให้ผลดี อาทิ กระดูกคดจากการใช้งาน หลังการรักษากระดูกที่คดก็มีโอกาสกลับมาตรงได้ดังเดิม และถ้ากรณีเป็นแต่กำเนิดกระดูกสันหลังจะกลับมาตรงได้ตามสรีระของคนไข้ได้ ถ้าหากปล่อยไว้ไม่รักษาจะส่งผลแทรกซ้อนให้ปวดหลังเรื้อรัง เสียสมดุลด้านบุคลิกภาพ ซึ่งเรื่องนี้อาจส่งผลให้เด็กหรือวัยรุ่นรู้สึกไม่ดีได้ นอกจากนี้กระดูกสันหลังคดยังอาจส่งผลทำให้มีปัญหาเรื่องการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย เพราะเมื่อกระดูกสันหลังคดรุนแรงจะกดทับปอดและหัวใจได้อีกด้วย
..................................................................................................